บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

ที่ประเทศจีน เมื่อนักวิทยทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากฟอสซิล “ลำตัวพยาธิตัวตืด” เก่าแก่ 100 ล้านปี...



รายงานจากเมืองหนานจิง ประเทศจีน เมื่อนักวิทยทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากฟอสซิล “ลำตัวพยาธิตัวตืด” เก่าแก่ 100 ล้านปี... ว่าซากฟอสซิดังกล่าวมีโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งคล้ายคลึงกับหนวดจับของพยาธิตัวตืดทริพานอร์ฮินช์ (Trypanorhynch) ปรสิตที่อาศัยอยู่ในกลุ่มปลาทะเลกระดูกอ่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฉลามและกระเบน และยังคงมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน

เชสโตดา (Cestoda) หรือพยาธิตัวตืด เป็นกลุ่มพยาธิตัวแบน ที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตภายในร่างกายของโฮสต์ มีวงจรชีวิตที่ซับซ้อน เนื่องจากต้องอาศัยในโฮสต์แตกต่างกันอย่างน้อยสองโฮสต์ และสามารถแพร่สู่กลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญทั้งหมด โดยบันทึกซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีอยู่น้อยมาก เนื่องจากมันมีเนื้อเยื่ออ่อน และถิ่นอาศัยที่ซุกซ่อนตัวอยู่

หวังโป๋ นักวิจัยของสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งร่วมการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า ซากฟอสซิลดังกล่าวไม่เพียงเป็นข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับซากฟอสซิลลำตัวบางส่วนของพยาธิตัวตืด แต่ยังเป็นซากฟอสซิลลำตัวของพยาธิตัวแบน ซึ่งน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลกปัจจุบัน และส่งมอบหลักฐานโดยตรง เกี่ยวกับวิวัฒนาการในช่วงแรกของพวกมัน

หลัวฉือหาง นักศึกษาดุษฎีบัณฑิตของสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อำพันสามารถรักษาโครงสร้างภายในของหนอนพยาธิเอาไว้ได้ และนำไปสู่การตั้งสมมุติฐานว่าพยาธิตัวตืดขึ้นมาจากมหาสมุทรและอยู่ในอำพันได้อย่างไร

หลัวตั้งข้อสันนิษฐานว่า พยาธิดังกล่าวอาจอาศัยอยู่ในลำไส้ของกระเบน ต่อมากระเบนถูกซัดขึ้นฝั่งและกลายเป็นอาหารของไดโนเสาร์ จากนั้นไดโนเสาร์ได้กัดกินอวัยวะภายในของกระเบน จึงทำให้พยาธิร่วงหล่นออกมาและถูกยางไม้ที่อยู่ใกล้เคียงห่อหุ้มเอาไว้

อนึ่ง การศึกษาชิ้นนี้ ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ อาทิ จีน เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเมียนมา ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสารจีโอโลจี เมื่อไม่นานมานี้.

รายการบล็อกของฉัน