จวงจื่อเป็นจอมปราชญ์จีน มีชีวิตเมื่อประมาณ 2,300 ปีได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสามจอมปราชญ์แห่งสำนักคิดฝ่ายเต๋าที่โดดเด่นที่สุด
😁วันนี้จะมานำเสนอบทความเกี่ยวกับนักปรัชญานักปราชญ์ชาวจีนที่ชื่อ จวงจื่อ
คุณคุณอาจจะเคยเห็นและเคยอ่านเกี่ยวกับนักปราชญ์จีน กันมาบ้างแล้วนะครับโดยเฉพาะชื่อที่มีคำลงท้ายว่า..จือๆ หลายๆท่านเช่นเม่งจือ เล่าจือ ขงจื้อ แต่วันนี้จะมานำเสนออีกท่านนึงชื่อว่า จวงจื่อ นักปราชญ์จีนท่านนี้ จะมีความสำคัญและมีความโดดเด่นอย่างไรเรามาอ่านรายละเอียดกันเลยนะครับ
จวงจื่อ (จีนตัวเต็ม: 莊子; จีนตัวย่อ: 庄子; พินอิน: Zhuāngzi; อังกฤษ: Zhuangzi) เป็นจอมปราชญ์จีน มีชีวิตเมื่อประมาณ 2,300 ปีที่ล่วงมา
ตรงกับยุคจั้นกว๋อ (战国)
👉🏿ท่านเป็นปราชญ์ใหญ่ผู้รังสรรค์แนวคิดอมตะที่ถูกจัดอยู่ในสำนักคิดปรัชญาเต๋า(道家) เป็นปราชญ์รุ่นหลังเล่าจื๊อ (老子)ผู้รจนาคัมภีร์เต้าเต๋อจิง (แต้จิ๋ว: เต๋าเต็กเก็ง;จีนตัวย่อ:道德经)ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสามจอมปราชญ์แห่งสำนักคิดฝ่ายเต๋า จวงจื่อได้สืบทอดและพัฒนาต่อยอดแนวคิดของเล่าจื๊อ แนวคิดของท่านถูกรวบรวมไว้ในชื่อหนังสือ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับท่าน คือ จวงจื่อ《庄子》
👉🏿จวงจื่อ ประวัติ
จวงจื่อ (庄子)ปรมาจารย์ฝ่ายเต๋า ลำดับถัดมาจากท่านเล่าจื๊อ (老子)ประวัติของท่านจวงจื่อไม่มีบันทึกไว้ชัดแจ้ง
👉🏿นักวิชาการจีนบันทึกไว้ว่า น่าจะเกิดในราวปี 369 ก่อน ค.ศ. และตายในราวปี 286 ก่อน ค.ศ.
👉🏿จวงจื่อ แซ่จวง ชื่อเดิมโจว(周)ชาวรัฐซ่ง (宋)มีชื่อเสียงในการเป็นนักคิด(思想家) นักปรัชญา (哲学家)และนักเขียน(文学家)
👉🏿เคยรับราชการตำแหน่งเล็กๆดูแลสวนต้นรัก ไม่นานก็ลาออก เป็นปราชญ์ฐานะยากจน แต่มีความสุขสงบใจ มีความเป็นอิสระเสรี ไม่ถูกผูกมัดจากกรอบของสังคมปุถุชน
😁แนวคิดสำคัญ
ความอิสระเสรี อุดมคติครองชีวิตอย่างอิสรเสรีเป็นสิ่งที่จวงจื่อพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมจากท่านเล่าจื๊อ ในเต๋าเต็กเก็ง ภาวะ “อิสระเสรี” ของจวงจื่อ คล้ายกับภาวะ “ตื่นรู้บรรลุธรรม” ของนิกายเชน หรือภาวะ “พระอรหันต์” ของนิกายเถรวาท ภาวะอิสรเสรีเป็นมนุษย์ที่แท้ ภาวะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง
เมื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงที่ปุถุชนเขามี เขาหลง เขายึดติด ชีวิตเราจึงมีเสรีภาพอย่างแท้จริง จวงจื่อสอนให้ล่องลอยไปตามครรลองของเต๋า (กฎธรรมชาติ) ตัวจวงจื่อเองก็ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ โดยไปปลูกกระท่อมน้อยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขาเสื้อผ้าขาดรองเท้าก็เป็นรูโหว่ จวงจื่อไม่เลือกชีวิตที่ร่ำรวย สูงศักดิ์ มีอำนาจ ท่านเลือกใช้ชีวิตสมถะ สันโดษ เพื่อที่จะมีอิสระเสรีตามวิถีธรรมชาติ
คำภีร์ของจวงจื่อ
ผลงาน"จวงจื่อ จวงจื่อ" 《庄子》ได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์อมตะแห่งลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการในราชวงศ์ถัง(ราวปี618-907) แนวการประพันธ์ของจวงจื่อ มักใช้รูปแบบเล่านิทานบรรยายอุดมคติของตน ทำให้ผู้อ่านเพลิดเพลินไปกับอารมณ์ของตนโดยไม่รู้สึกตัว
กลวิธีการเขียนก็มีความพลิกแพลง ตื่นเต้น ลึกลับซับซ้อน เป็นหนึ่งในหนังสือที่เด่นที่สุดของหนังสือปรัชญาทั้งหลายในประวัติศาสตร์จีนและก็มีฐานะสำคัญในประวัติวรรณกรรมของจีน
หนังสือเรื่อง "จวงจื่อ" ร่วมกับหนังสืออีกสองเรื่องได้แก่ "เต้าเต๋อจิง"《道德经》 หรือ "เล่าจื๊อ"《老子》และ"โจวอี้"หรือ"อี้จิง"《易经》รวมเป็นหนังสือสำคัญ 3 เล่มที่สะท้อนถึงคุณค่าของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด
👉🏿คัมภีร์จวงจื่อ
หนังสือเรื่อง“จวงจื่อ” แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่ม ได้แก่ ความเรียงใน ความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน ความเรียงในเป็นบทประพันธ์ของจวงจื้อ ส่วนความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ อาจเป็นบทประพันธ์ของลูกศิษย์และนักปราชญ์รุ่นหลัง
👉🏿ความเรียงใน
1.อิสรจร (逍遙遊)
2.สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว(齊物論)
3.ความลับในการผดุงชีวิต(養生主)
4.โลกมนุษย์(人間世)
5.คุณธรรมที่แท้(德充符)
6.ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่(大宗師)
7.สิ่งที่คู่ควรกษัตริย์ราชา (應帝王)
👉🏿ความเรียงนอก
8.พังผืดนิ้ว(駢拇)
9.เกือกเท้าม้า(馬蹄)
10.หีบสมบัติที่ถูกปล้นชิง(胠篋)
11.ปล่อยให้เป็นไป(在宥)
12.ฟ้าและดิน(天地)
13.วิถีแห่งฟ้า(天道)
14.วัฏจักรแห่งฟ้า(天運)
15.รั้งความปรารถนา(刻意)
16.ฟื้นธรรมชาติดั้งเดิม(繕性)
17.อุทกแห่งฤดูใบไม้ร่วง(秋水)
18.ความสุขที่แท้(至樂)
19.บำรุงเลี้ยงชีวิต(達生)
20.ไม้ใหญ่แห่งขุนเขา(山木) 21.เถียนจื่อฟัง(田子方) 22.ความรู้ท่องแดนเหนือ(知北遊)
👉🏿ความเรียงปกิณกะ
23.เกิงซังฉู่(庚桑楚)
24.สีว์อู๋กุ่ย(徐無鬼)
25.เจ๋อหยัง(則陽)
26.สิ่งภายนอก(外物)
27.ถ้อยคำ(寓言)
28.สละราชบัลลังค์(讓王)
29.มหาโจรจื๋อ(盜跖)
30.กระบี่สามเล่ม(說劍)
31.ผู้เฒ่าหาปลา(漁父)
32.เลี่ยอี้ว์โค่ว(列禦寇)
33.ใต้หล้า(天下)
🙄ตนฝันว่าเป็นผีเสื้อหรือตัวจวงจื่อกันแน่
ผลงานเด่น
“จวงจื่อฝันเห็นผีเสื้อ” เป็นเรื่องที่จวงจื่อเล่าในหนังสือ《庄子》นั้น นับเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังนำมาอ้างอิงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง กล่าว คือ”ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าฝันไปว่าเป็นผีเสื้อโบยบินไปมาอย่างสบายใจ
😬ไม่มีความวิตกกังวลใดๆ ผีเสื้อตัวนี้ไม่รู้เลยว่า มันคือจวงโจว(ชื่อเดิมของจวงจื่อ) แต่แล้วในทันใดก็ตื่นขึ้นรู้สึกตัวว่า ตัวคือจวงโจว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ตนเองเป็นจวงโจวที่ฝันไปว่าเป็นผีเสื้อตัวนั้น หรือว่า ผีเสื้อตัวนั้นฝันไปว่า มันเป็นจวงโจว ระหว่างผีเสื้อกับจวงโจวนั้น จะต้องแตกต่างกันแน่ๆ ”
เป็นอย่างไรบ้างครับอ่านจบบทความแล้วรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจกับปรัชญาของนักปราชญ์ชาวจีนที่ชื่อจวงจื้อท่านนี้บ้างหรือเปล่าครับ ก็ดีนะครับ
"ความอิสระเสรี อุดมคติครองชีวิตอย่างอิสรเสรีเป็นสิ่งที่จวงจื่อพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมจากท่านเล่าจื๊อ ในเต๋าเต็กเก็ง ภาวะ “อิสระเสรี” ของจวงจื่อ คล้ายกับภาวะ “ตื่นรู้บรรลุธรรม”ที่จวงจื่อว่าไว้ ก็ดีนะ..รู้สึกว่ามันทันสมัยดี