บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

รู้ไหมว่า ประชากร ตัวเหี้ย..ตัวเงินตัวทอง หรือ วรนุช วรานัส หรืออีกชื่อว่า เหี้ย ในประเทศไทยมีมากที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลก

รู้ไหมว่า ประชากร ตัวเงินตัวทอง หรือ .......วรนุช วรานัส หรืออีกชื่อว่า เหี้ย ในประเทศไทยมีมากที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลก

ประเทศที่มีตัวเงินตัวทองมากที่สุดในโลกฝรั่งอังกฤษเข้ามาเดินท่องเที่ยวในประเทศไทยเห็นสัตว์ประเภทตัวเงินตัวทองหรืออีกชื่อหนึ่งว่าตัวเหี้ยวิ่งขลุกขลั่กๆลงตามท่อระบายน้ำในเมืองหลวง

เมื่อฝรั่งต่างชาติเห็นเขาก็ไปคุยกันว่าประเทศไทยมีตัวเงินตัวทองมากที่สุดในโลกเท่าที่เขาเคยประสบพบเห็นมา...นี่คือคำบอกเล่าของนักท่องเที่ยวบางคนที่เคยเข้ามาในประเทศไทยแล้วเดินชมวิวตามตอกซอกซอยแล้วบังเอิญก็ไปเจอตัวตะกวดนะครับแต่เราก็อย่าไปคิดอะไรมาก

เหี้ยจมูกแต่คือปลายลิ้นสองแฉกที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นสัญลักษณ์ของพวกที่เชื่อไม่ได้อันตราย แม้ว่าภาพลักษณ์นั้นจะติดมาจากสัตว์คนละชนิดกัน แต่เหี้ยก็ถูกเหมารวมไปด้วย

จ้าว (ระบบนิเวศ) เมือง
“เคยไปสวนลุมฯไหม ฝูงนกพิราบที่นั่นไม่ค่อยหนีใช่หรือเปล่า ? เหี้ยในเมืองก็เหมือนกัน” ปรเมศวร์ ตรีวลัยรัตน์ เจ้าของงานวิจัยที่ศึกษาประชากรเหี้ยในเมืองหลวงถามขึ้นมาลอยๆ

เหี้ย“มันแลบลิ้นออกมา เพื่อสัมผัสสารเคมีในอากาศ”

เหี้ยสร้างระบบนำทางด้วยการยื่นลิ้น ที่มีตัวรับสารเคมีออกมาเพื่อดักจับสัญญาณอาหารที่ถูกทิ้งไว้ในอากาศ และจะส่งเข้าไปแปลงผลในเครื่องรับสองช่องเล็กๆ บนเพดานปาก ซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ตัวรับสัญญาณนี้จะทำหน้าที่แปลงสารเคมีเป็นข้อมูล ละส่งไปสมอง เพื่อประมวลผลว่าข้างหน้า น่าจะมีอาหารหรือไม่ ?

การที่มีเหี้ยอยู่ ทำให้ประชากรสัตว์เล็กในพื้นที่ไม่ชุกชุมมากจนเสียสมดุล และในต่างประเทศก็มีรายงานเกี่ยวกับการใช้เหี้ยเป็นตัวชี้วัดของสารเคมีตกค้างในระบบนิเวศเมือง อย่างยาฆ่าหญ้า ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อถูกใช้งาน ก็จะกระจัดกระจาย เจือปนอยู่ในสภาพแวดล้อม

ปริมาณที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อย ทำให้ตรวจวัดได้ยากนัก จนกระทั่งทีมนักวิจัยค้นพบว่า สารเหล่านี้มักจะตกค้างอยู่ในสัตว์เล็กสัตว์น้อยซึ่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่เจือปนพิษ และเมื่อเหี้ยคือผู้ล่าสูงสุดของระบบนิเวศป่าปูน สารเคมีเหล่านั้นก็จะไปตกค้างอยู่ในตัวของเหี้ย มากที่สุดเช่นกัน การตรวจวัดสารเคมีจากเหี้ย จึงทำได้ง่ายและวัดได้แน่นอนกว่าการตรวจจากน้ำหรือสภาพอากาศ “พอกินเป็นทอดๆ มันจะถ่ายเท สะสมไปเรื่อยๆ วัดในตัวสุดท้ายอย่างเหี้ย อย่างไรก็เจอ” หนึ่งในอนาคตของนักวิจัยของไทยอธิบาย

ตัวอัปมงคล (?)
“ก็ไม่ชอบอยู่แล้วสัตว์กินซาก เหมือนเป็นตัวนำความตาย เหี้ยกินซากไม่พอ ยังมากินสัตว์ที่เลี้ยงอีก เลยเหมือนเป็นประเพณีความเกลียดที่ถูกส่งต่อตั้งแต่นั้นมา” ปรเมศวร์ เล่าถึงข้อขัดแย้งที่ถูกบ่มเพาะทัศนคติมาโดยไม่รู้ตัว และกินเวลายืดเยื้อมานานระหว่างเหี้ยกับคน

สัตว์ที่ได้ชื่อว่า ‘เหี้ย’

“วรนุช วรานัส วอเตอร์มอนิเตอร์ ตัวเงินตัวทอง ตัวอัปมงคล ตัวกินไก่ หัวขโมย…” และอีกหลายชื่อที่ถูกใช้แทนคำว่า ‘เหี้ย’ ที่ทำให้ทั้งคนฟัง และคนพูดลำบากใจ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้คำไหน อย่างไรภาพในใจก็คงไม่แตกต่าง “ตัวเป็นเกล็ด หัวเหมือนงู ตัวยาวเหมือนจระเข้ ขากลมอวบคล้ายกิ้งก่า”

แม้จะพบเห็นได้ง่ายและมีจำนวนประชากรในประเทศไทยมากที่สุดติดอันดับต้นๆ ของโลก แต่เหี้ยกลับเป็นสัตว์ที่ถูกวิจัยและศึกษาอย่างจริงจังในประเทศแห่งนี้…นับครั้งได้

แต่เพียงไม่กี่ครั้งนั้น กลับบอกอะไรเกี่ยวกับเพื่อนร่วมเมืองและคนที่เรียกตัวว่าเป็นเจ้าของพื้นที่อย่างเราได้อยู่ไม่น้อย

“สัญชาตญาณสัตว์ป่าจะมีระยะ หากมีอะไรเข้ามาใกล้ใน 10 เมตร มันก็หนีแล้ว” ชายหนุ่มผู้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเหี้ยเล่าถึงความต่างของสัตว์ป่าและสัตว์เมืองในความคิดเขาแล้วชี้แจงต่อว่า เพราะสัตว์มีพฤติกรรมแบบหนึ่งที่เรียกว่า habituation หรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ความเคยจนชินกับเหตุการณ์ที่เจอซ้ำ ซ้ำ สัตว์จะเกิดการเรียนรู้และจดจำ จนทำให้รูปแบบของพฤติกรรมเปลี่ยนไป

“เมื่อสัตว์รู้ว่ารูปร่างแบบนี้ไม่ทำร้าย มันก็จะไม่หนี จะกล้าเข้าใกล้และใช้ประโยชน์จากมนุษย์ได้มากขึ้น” เขาเล่าถึงภาพคุ้นตาของคน สัตว์และขนมปังที่พบได้บ่อยครั้งตามสวนสาธารณะ

“เมือง ก็เป็นป่านะ เป็นระบบนิเวศรูปแบบนึง” นักศึกษาปริญญาโท สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยมหิดลให้ข้อมูล “ป่าไม่จำเป็นว่าต้องมีแต่ต้นไม้ ทะเล เกาะ สวนหรือเมือง ก็ใช่ทั้งนั้น”

“อาจเพราะมันตัวใหญ่ มันเลยคิดว่าไม่มีใครทำอะไรมันได้” เขาตั้งข้อสันนิษฐานกับพฤติกรรมของเหี้ย ที่มักจะเดินเหมือนไม่สนใจใคร “เหี้ยเป็นสัตว์วัดไซส์ ถ้ามันคิดว่าสัตว์หรือรูปร่างที่มันเจอมีขนาดใหญ่กว่าตัวมัน มันจะไม่ค่อยเข้าไปยุ่ง แต่ถ้าเห็นว่าเล็กกว่า จะคิดว่าเป็นอาหาร” เขาเล่าถึงข่าวเหตุการณ์ ‘เหี้ยทำร้ายเด็กทารก’ ในอดีต “ทารกตัวเล็กและมีกลิ่นตัวคาว เหี้ยไม่รู้หรอกว่าเป็นลูกของคนไหม มันแค่ตามกลิ่นมา”

เขายังเล่าเสริมต่อว่ามุมมองสายตาของเหี้ยแคบกว่าคนมาก แต่ธรรมชาติชดเชยให้ด้วยประสาทสัมผัสการรับกลิ่นที่ยอดเยี่ยม

“ซากอยู่ไกลเป็นกิโล มันก็ได้กลิ่น ตามมากินได้” ส่วนรับสัมผัสสำคัญของเหี้ย ไม่ใช่จมูกแต่คือปลายลิ้นสองแฉกที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นสัญลักษณ์ของพวกที่เชื่อไม่ได้อันตราย แม้ว่าภาพลักษณ์นั้นจะติดมาจากสัตว์คนละชนิดกัน แต่เหี้ยก็ถูกเหมารวมไปด้วย

“มันแลบลิ้นออกมา เพื่อสัมผัสสารเคมีในอากาศ”

เหี้ยสร้างระบบนำทางด้วยการยื่นลิ้น ที่มีตัวรับสารเคมีออกมาเพื่อดักจับสัญญาณอาหารที่ถูกทิ้งไว้ในอากาศ และจะส่งเข้าไปแปลงผลในเครื่องรับสองช่องเล็กๆ บนเพดานปาก ซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ตัวรับสัญญาณนี้จะทำหน้าที่แปลงสารเคมีเป็นข้อมูล ละส่งไปสมอง เพื่อประมวลผลว่าข้างหน้า น่าจะมีอาหารหรือไม่ ?

การที่มีเหี้ยอยู่ ทำให้ประชากรสัตว์เล็กในพื้นที่ไม่ชุกชุมมากจนเสียสมดุล และในต่างประเทศก็มีรายงานเกี่ยวกับการใช้เหี้ยเป็นตัวชี้วัดของสารเคมีตกค้างในระบบนิเวศเมือง อย่างยาฆ่าหญ้า

ซึ่งสารเคมีเหล่านี้เมื่อถูกใช้งาน ก็จะกระจัดกระจาย เจือปนอยู่ในสภาพแวดล้อม ปริมาณที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อย ทำให้ตรวจวัดได้ยากนัก จนกระทั่งทีมนักวิจัยค้นพบว่า สารเหล่านี้มักจะตกค้างอยู่ในสัตว์เล็กสัตว์น้อยซึ่งอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่เจือปนพิษ และเมื่อเหี้ยคือผู้ล่าสูงสุดของระบบนิเวศป่าปูน

สารเคมีเหล่านั้นก็จะไปตกค้างอยู่ในตัวของเหี้ย มากที่สุดเช่นกัน การตรวจวัดสารเคมีจากเหี้ย จึงทำได้ง่ายและวัดได้แน่นอนกว่าการตรวจจากน้ำหรือสภาพอากาศ “พอกินเป็นทอดๆ มันจะถ่ายเท สะสมไปเรื่อยๆ วัดในตัวสุดท้ายอย่างเหี้ย อย่างไรก็เจอ” หนึ่งในอนาคตของนักวิจัยของไทยอธิบาย

ตัวอัปมงคล (?)

“ก็ไม่ชอบอยู่แล้วสัตว์กินซาก เหมือนเป็นตัวนำความตาย เหี้ยกินซากไม่พอ ยังมากินสัตว์ที่เลี้ยงอีก เลยเหมือนเป็นประเพณีความเกลียดที่ถูกส่งต่อตั้งแต่นั้นมา” ปรเมศวร์ เล่าถึงข้อขัดแย้งที่ถูกบ่มเพาะทัศนคติมาโดยไม่รู้ตัว และกินเวลายืดเยื้อมานานระหว่างเหี้ยกับคน

“ที่บอกว่าจะเป็นตัวที่ทำร้ายคนก่อน แทบไม่เคยเจอเลย” เกรียงศักดิ์ สอาดรักษ์ อาจารย์ผู้ดูแลวารานัส ฟาร์ม หรือฟาร์มตัวเหี้ยแห่งเดียวในประเทศ เล่าถึงข้อมูลใกล้เคียงกับที่ได้ฟังจากปรเมศวร์

“มันเป็นสัตว์กินซาก ถึงจะบอกว่าไม่มีพิษ แต่น้ำลายมันก็สกปรก” หลายความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ให้ข้อมูลไว้อย่างนั้น

“อาจารย์สัตวแพทย์เคยสุ่มตัวอย่างน้ำลายของสัตว์หลายชนิดมาวิเคราะห์ร่วมกัน เจอว่าน้ำลายของเหี้ยเป็นแบคทีเรียทั่วไป ไม่ได้แตกต่างกับสัตว์ชนิดอื่น ต่างกับ ‘โคโมโด’ ที่ในน้ำลายมีแบคทีเรียเป็นพิษ” อาจารย์เล่าถึงข้อมูลวิจัยซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลในอินเตอร์เน็ต “ที่กัดแล้วเป็นแผลน่ากลัว ติดเชื้อ ก็เป็นแผลทั่วไป ไม่ต้องใช่เหี้ยกัด เราก็ติดเชื้อได้เหมือนกัน” อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิยืนกราน

“มันไม่ได้มีสัญชาตญาณของการชอบทำร้าย ส่วนที่จะทำกับคนจริงๆ คือแอบไปกินพวกสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่า”

“ทำไมคนถึงไม่รัก นี่มาจากคำว่า ตัวกินไก่ เลย” ปรเมศวร์ชี้ประเด็นที่สอดคล้องกันแม้ว่าทั้งสองจะปฏิบัติหน้าที่อยู่กันคนละส่วน

กรณีพิพาทนี้เกิดขึ้นมานานนับตั้งแต่ คนเริ่มมาตั้งรกรากอยู่ริมน้ำ เพราะน้ำคือชีวิตของอีกหลายชีวิตไม่ใช่แต่เพียงมนุษย์ สมัยก่อนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามริมน้ำ มักจะเลี้ยงสัตว์เล็ก อย่างเช่นเป็ดหรือไก่ไว้เป็นอาหาร มีกรง มีรั้ว ล้อมไว้ และบ้านของเหี้ยก็มักจะตามริมน้ำเช่นกัน

เหี้ยจะไม่ใช่นักล่าที่เก่งกาจนัก มันไม่มีพิษ วิ่งเร็วๆ ก็ไม่ได้นาน ไม่มีเขี้ยวอย่างสัตว์นักล่าทั่วไป ฟันของมันมีลักษณะคล้ายใบเลื่อยเล็กๆ เหมือนกันทั้งปาก ทำได้ก็แค่ฉีกอาหาร จะกัดหรือหรือเคี้ยวไม่ได้ ที่เป็นอย่างงี้ เพราะเหี้ยถูกออกแบบมาให้กินซากมากกว่า ล่าสัตว์ ไก่หรือสัตว์อะไรที่ยังไม่ตายจึงไม่ใช่เป้าหมายที่เหี้ยจะอยากวิ่งไล่เท่าไหร่นัก แต่ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้มันสามารถจะล่าสัตว์ ขโมยกินไก่ ในรั้วของชาวบ้านได้เป็นเพราะว่าสัตว์เหล่านั้นไม่มีทางหนี เพราะสัตว์เหล่านั้นอยู่ในเขตกรงหรือพื้นที่จำกัด

“ที่ล่า เพราะเขาหิว” เมื่อเรามีเทศบาลเข้ามา ทั้งขยะและอาหารของเหี้ยก็มีคนเข้ามาช่วยเก็บกวาด รวมถึงเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป สัตว์เล็กสัตว์น้อยตามธรรมชาติลดลง เหี้ยจึงต้อง ‘ล่า’ ทำในสิ่งที่ไม่ถนัดนักเพื่อเอาชีวิตรอด

นอกจากงานวิจัยเกี่ยวกับน้ำลาย ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่พบว่าน่าสนใจ คือระบบการย่อยอาหารของตัวเหี้ย ที่แม้ว่าอาหารที่กิน จะไม่สดใหม่ แต่เหี้ยก็ไม่เคยท้องเสีย

งานวิจัยที่ศึกษาโครงสร้างและกายวิภาคทางเดินอาหารของเหี้ย ซึ่งพบว่า มันเหมาะสำหรับกินอาหารที่อ่อนนุ่มหรือหมักแล้วอย่างซากสัตว์มากกว่า ในทางเดินอาหารของมันจะมีเมือก ซึ่งมีความเป็นกรดสูง ไว้เพื่อย่อยและเปลี่ยนซากกับแบคทีเรียเหล่านั้นให้กลายเป็นสารอาหาร เพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกายตัวเอง “มันกินซาก แต่มันไม่ได้นำพาโรค” 

หางของเหี้ย นับว่าเป็นอาหารชั้นเลิศ

บ้องตัน หรือส่วนโคนหาง ซึ่งอุดมไปด้วยคอลลาเจนสารเพิ่มความอ่อนเยาว์ เป็นส่วนที่ทั้งทีมนักวิจัยผู้ศึกษา และชาวบ้านทั่วไปต่างลงความเห็นว่า “อร่อยสุดๆ อันนี้รับประกัน”

“รสชาติคล้ายไก่ แต่ลักษณะเนื้อออกไปทางหมูติดมันมากกว่า เราชอบตอนเอาไปผัดกับพริกไทยดำ”

ตัวเงินตัวทอง
“อินโดขายส่งปีละกว่า 5 แสนตัว ส่วนใหญ่จะส่งเนื้อไปขายทางเอเชียเหนือ แถบจีน เวียดนาม ไต้หวัน พม่า ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 20$ เป็นอย่างน้อย กระเป๋าแบรนด์ดังๆ อย่าง Valentino หรือ Hermes ก็มีหนังของเหี้ยอยู่ในคอลเลคชันของสัตว์ป่า”

“ทางยุโรป อเมริกา ชอบนำไปเป็นสัตว์เลี้ยง เชื่องจนจูงเดินได้ หรือเรียกให้มากินอาหารก็ยังได้ บางที่เพาะพันธุ์จนเป็นสีดำล้วนเลยก็มี”

รายการบล็อกของฉัน