"เวลาที่เดินไม่เท่ากัน"
หลุมดำ คือ ดาวที่แรงโน้มถ่วงมีความเข้มสูงมากจนไม่มีสิ่งใดเดินทางออกจากดาวดวงนั้นได้ แม้แต่แสงซึ่งเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วที่สุดในเอกภพก็ยังไม่สามารถหลุดออกมาจากหลุมดำได้
• ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจของ หลุมดำ เวลาในอวกาศที่เข้าใกล้หลุมดำจะเดินช้าลง
ยกตัวอย่าง เช่น
1ชม. ของคนที่อยู่ใกล้หลุมดำอาจจะเท่ากับ 7 ปีของคนที่อยู่บนโลก
• เรื่องน่าแปลกในธรรมชาติก็คือ แรงโน้มถ่วงสามารถส่งผลต่อเวลาได้ ยิ่งแรงโน้มถ่วงเข้มเวลายิ่งเดินช้า
• นักวิทยาศาสตร์ทดสอบทฤษฎีนี้ โดยการนำนาฬิกาอะตอมซึ่งมีความละเอียดสูงมากไปวางไว้บนเครื่องบินจากนั้นให้เครื่องบินทำการบินรอบโลกระยะหนึ่ง จากนั้นนำนาฬิกามาเปรียบเทียบกับนาฬิกาอะตอมที่อยู่บนพื้นโลก
พอคำนวณและหักลบผลของการเคลื่อนที่อย่างละเอียดแล้ว
"แรงโน้มถ่วงส่งผลต่อเวลาได้จริง"
ยกตัวอย่าง เช่น
นาฬิกาที่อยู่บนผิวดาวพฤหัสฯย่อมเดินช้ากว่าเวลาที่อยู่บนผิวโลกเนื่องจากผิวดาวพฤหัสฯ มีแรงโน้มถ่วงมากกว่า
"นาฬิกาที่ลอยอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปหลายกิโลเมตรกับนาฬิกาที่วางอยู่บนพื้นโลกตามปกติ เรือนไหนจะเดินช้ากว่ากัน"
คำตอบคือนาฬิกาที่อยู่บนผิวโลกจะเดินช้ากว่าเนื่องจากผิวโลกเรามีแรงโน้มถ่วงมากกว่ายิ่งห่างจากผิวโลกออกไปแรงโน้มถ่วงยิ่งน้อยลง.
เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ทำการพิสูจน์แล้วนะครับว่าเป็นความจริง.