บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

นักปรัชญาอิสลาม(Abu Al-Nasr Al-Farabi , Avicenna)


อัล ฟารอบี (Abu Al-Nasr Al-Farabi)
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อัลฟาราเบียส(al-Pharabius), ฟาราบี (Farabi) หรือ อะบูนาเซอร์ (Abunaser)อะบู นัศร อัลฟารอบี
(ในหนังสือบางเล่มใช้ชื่อ อะบู นัศรฺ มุฮำมัด อิบนุ มุฮำมัด อิบนุ อุซลัฆ อัลฟารอบี เกิดที่ Wasij ใกล้ Farab ใน Turkistan จึงถูกเรียกชื่อเป็นชื่อเมือง ฟารอบ คือ อัลฟารอบี
เป็นมุสลิมที่รอบรู้ เป็นนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่และนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากในเปอเซียและโลก มุสลิมในยุคนั้น และเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องจักรวาล ตรรกวิทยา ดนตรี สังคมวิทยาและจิตวิทยา
ฟารอบี ได้เริ่มการเรียนรู้ในบ้านเกิดที่ฟารอบและบุคอรอ หลังจากนั้นได้ย้ายไปยังแบกแดดเพื่อทำการศึกษาในระดับสูง ว่ากันว่าเขาได้ศึกษาภายใต้การนำของนักบวชคริสต์นิกาย Nestorian จนอายุล่วง 40 ปี ก็ได้เดินทางไปยัง ฮะลับ ประเทศซีเรีย ใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น และได้เดินทางไปในที่ต่างๆ เช่น ไคโร อิยิปต์ ท้ายสุดก็ได้เดินทางกลับยังเมืองดามัสกัสประเทศซีเรียและเสียชีวิตที่นั้น เมื่ออายุได้ประมาณ 80 ปี

ผลงานด้านปรัชญา
ฟารอบีได้เขียนหนังสือในทางปรัชญามากมาย โดยเฉพาะได้เขียนแสดงความเห็นต่อผลงานของอริสโตเติล ที่ทำให้เขามีชื่อเสียง คือ หนังสือที่ชื่อว่า (ความเห็นของผลเมือง มะดีนะฮฺ ฟาดีละฮฺ) เป็นการนำเสนอทฤษฎีการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เช่นเดียวกันกับการที่ อริสโตเติลได้เขียนใน The Republic. ฟารอบี มีอิทธิพลมากต่อปรัชญา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นครูคนที่สอง(Second teacher) เป็นการให้เกียรติแก่เขาโดยการนับ อริสโตเติล เป็นครูคนที่หนึ่ง (First teacher)

ฟิสิกส์
อะบูนัศรุดีน อัลฟารอบี เป็นที่รู้จักเช่นกันว่าเป็นบุคคลริเริมการค้นพบความจริงความคงอยู่ของช่อง ว่างในฟิสิกส์ และเทอร์โมไดนามิก

จิตวิทยา
อัลฟารอบีเป็นผู้เสนอแบบอย่างบ้านเมืองที่ประสพผลสำเร็จ เป็นบุคคลแรกที่นำเสนอการใช้จิตวิทยาสังคม โดยกล่าวว่า “บุคคลที่อยู่อย่างโดดเดียวไม่สามารถที่จะบรรลุความสมบูรณ์ในตนเองได้ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น”

อิบนุ ซีนา
อิบนุ ซีนา หรือที่ชาวยุโรปเรียกันว่า เอวิเซ็นนา(Avicenna) เป็นนักวิทยาศาสตร์มุสลิมคนหนึ่ง ที่เกิดในปี ค.ศ.980 ในดินแดนทางตะวันอกเฉียงเหนือของอาณาจักรอับบาสิด (อุสเบกิสถานปัจจุบัน) บิดาของเขาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดท้องถิ่นแห่งหนึ่งของเปอร์เซีย และเป็นนักวิชาการมีเกียรติ อิบนุซีนาจึงพูดภาษาเปอร์เซียเช่นเดียวกับผู้มีการศึกษาในส่วนอื่นๆ ของโลก เขาเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมาก สามารถจดจำอัล-กุรอานได้ทั้งเล่มเมื่ออายุได้เพียงเจ็ดขวบ ทั้งที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาของเขา ในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่นั้น เขาได้เรียนรู้ระบบการนับเลขแบบอินเดียจากครูที่เป็นนักเดินทาง เมื่ออิบนุซีนาอายุสิบแปดปี เขาประสบความสำเร็จในการเป็นหมอที่รักษาผู้ป่วยให้หายได้จำนวนมาก
อิบนุซีนากลายเป็นหมอที่มีชื่อเสียงมากจนกระทั่งสุลต่านนูฮฺ อิบนฺ มันซูรฺ แห่งบุคอรอได้มาหาเขาเพื่อให้ช่วย

รักษาอาหารป่วย เมื่ออิบนุซีนาสามารถรักษาอาการป่วยของสุลต่านผู้นั้นได้ สุลต่านจึงให้เขาทำงานเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้นอิบนุซีนามีอายุแค่ 18 ปีเท่านั้น เมื่อได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของสุลต่านแล้ว อิบนุซีนาก็ได้อ่านหนังสือหายากหลายเล่มจากในห้องสมุดของสุลต่าน

อิบนุซีนามีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุได้ยี่สิบปี อิบนุซีนาเป็นบุคคลแรกที่ “แรงกระตุ้นเป็นสัดส่วนของอัตราความเร็ว” นี่คือสมการพื้นฐานที่อธิบายแรงผลักดันในทุกวันนี้ เขายังอ้างเหตุผลด้วยว่า วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในสุญญากาศนั้นยังคงเคลื่อนที่ไปโดยไม่ชะลอความเร็ว ลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องอีกเช่นกัน อิบนุซีนายังได้กล่าวไว้อีกว่า นักวิทยาศาสนาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนโลหะอย่างตะกั่ว หรือทองแดง ให้กลายเป็นทองได้ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หลายคนจะพยายามทดลองตำราทางการแพทย์ของอิบนุซีนา ตั้งแต่ ค.ศ. 1000 เป็นต้นมา

อิบนุซีนายังได้เขียนตำราทางการแพทย์เป็นภาษาอาหรับไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแพทย์ได้ใช้กันทั่วอาณาจักรอับบาสิด และเมื่อตำรานี้ถูกแปลเป็นภาษาละติน ก็ได้ถูกนำมาใช้ไปทั่วทั้งยุโรปเช่นกัน ตลอดช่วงสมัยของยุคกลาง อิบนุซีนายังอาจจะเป็นบุคคลแรกที่ได้รู้ว่า คนเราสามารถติดเชื้อโรคต่างๆ จากคนด้วยกัน เช่นโรคหัด ไข้ทรพิษ หรือวัณโรค ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักเชื้อโรคเลย เพราะยังไม่มีกล้องจุลทรรศน์

เมื่อสุลต่านสิ้นพระชนม์ลง รัชทายาทชื่อ อะลี อิบนฺ ชามส์ อัล-เดาลา ได้ขอให้อิบนุซีนาดำรงตำแหน่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ต่อไป แต่เขาตกลงที่จะเข้าร่วมกับกองกำลังของโอรสของสุลต่านอีกคนหนึ่ง คือ อะลา อัล-เดาลา และจึงต้องหลบซ่อนตัว ในระหว่างช่วงเวลานี้เอง เขาได้เขียนตำราเกี่ยวกับหลักปราชญาที่สำคัญเล่มหนึ่ง คือ “กิตาบุล-ชีฟา” (หนังสือเรื่องการเยียวยา) ครอบคลุมในเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไปจนถึงเรื่องกายภาพหรือฟิสิกส์และชีวิตหลังความตาย ในขณะที่กำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับวิชาตรรกศาสตร์นั้น อิบนุซีนาถูกจับกุมไปคุมขัง แต่เขาหนีรอดไปได้และปลอมตัวเป็นซูฟีไปยังอิสฟาฮานเพื่อสมทบกับอะลา อัล-เดาลา

ในระหว่างนั้นเขาได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มเช่น กิตาบุล นาญาต, อัล-มันติก และ อัล-อิสฮารอต วะ อิตันบิฮาต เป็นหนังสือเกี่ยวศาสนาและหลักตรรกศาสตร์ นอกจากนี้งานเขียนของเขายังรวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์, การแพทย์, ภาษาสาสตร์ และสัตวศาสตร์ด้วย อิบนุซีนายังเป็นนักกวีที่เขียนกวีได้อย่างไพเราะเช่นหนังสือ ฮัยย์ อิบนฺ ยักซัน อิบนุซีนายังทำงานเกี่ยวกับปรัชญาและการแพทย์ตลอดจนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการ เมืองเรื่อยมาจนกระทั่งเขาเสียชีวิต...

รายการบล็อกของฉัน