บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

Babylonอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในยุคเมโสโปเตเมียโบราณ

บาบิโลน (Babylon) 
ค้นหา
บาบิโลน (Babylon) อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในยุคเมโสโปเตเมียโบราณ (Mesopotamia) อายุ 4,000 ปี ที่เพิ่งได้รับการรับรองขึ้นเป็นพื้นที่มรดกโลก ปี 2562 นับว่าเป็นอีกหนึ่งเมืองโบราณที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมโบราณโลก 

ที่แม้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ของชนชาติในบริเวณนี้จะค่อนข้างสับสนอยู่มาก เพราะมีการรบพุ่งกันตลอดเวลา ผู้ชนะได้ยึดครองทุกอย่าง แต่การคงอยู่ของเมืองบาบิโลนนี่เอง ที่เป็นหลักฐานชั้นเยี่ยมของความรุ่งเรืองในอดีตกาล ครั้งนี้ผมจะพาคุณไปเที่ยวถึงประเทศ อิรัค อันเป็นที่ตั้งของบาบิโลนนั่นเอง
.
ที่ตั้งของนครบาบิโลน Babylonia Kingdoms
นครบาบิโลนนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส (Tigris) และยูเฟรทีสตอนล่าง (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก อย่างที่เราเกริ่นไปตอนต้นว่าที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งเป็นคำกรีกโบราณ (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) จึงมีความหมายว่า "ดินแดนระหว่างแม่น้ำ (ไทกริสกับยูเฟรทีส)" ด้วยภูมิประเทศแบบนี้เองจึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ผู้คนจากหลากหลายอาณาจักรล้วนเดินทางมายังดินแดนบริเวณนี้เพื่อทำมาหากิน และสร้างอารยธรรมของตัวเอง
.
เฮอรอโดทัส (Herodutus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาวกรีก บันทึกไว้ว่า นครบาบิโลนมีพื้นที่ 630 ตารางกิโลเมตร มีอาคารที่สร้างด้วยอิฐดินสีน้ำตาลขุ่น เพราะได้จากการขุดดินโคลนมาทำ เมืองมีกำแพงล้อมยาว 100 กิโลเมตร และหนา 7 เมตร กำแพงมีประตูที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ 100 บาน สำหรับประชาชนในการเข้า-ออกเมือง และมีประตูสำคัญที่สุดคือ ประตูอิชทาร์ (Ishtar Gate) ที่สูง 23 เมตร ประดับด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเรียงกันเป็นรูปสัตว์ชื่อ mushhushshu ที่มีศีรษะเป็นมังกร ลำตัวเป็นวัว สองขาหน้าเป็นขาแมว สองขาหลังเป็นขานกอินทรีย์ และมีหางเป็นหางแมงป่อง

ชาวบาบีโลเนียนนับถือเทพมาร์ดุค (Marduk) เป็นเทพสูงสุด ผู้ทรงควบคุมการเคลื่อนที่ของดาวทุกดวงในท้องฟ้า และทรงเป็นเทพผู้ปกป้องเมือง ในวันขึ้นปีใหม่ประชาชนจะนำรูปปั้นของเทพมาร์ดุคขึ้นรถม้า เดินนำขบวนผ่านประตูเมืองอิชทาร์ (Ishtar) ไปตามถนนให้ชาวบ้านได้สักการะทั่วกัน

 เมื่อต่างคนต่างต้องการครอบครองแผ่นดินที่มีทั้งความสงบ และอุดมสมบูรณ์ ทำให้บริเวณแถบนี้มีการทำสงคราม รบพุ่งกันอยู่เนืองๆ ทั้งเมืองอูรุก เมืองเอชนันนา เมืองอัสสูร์ เมืองมารี ฯลฯ กระทั่งสงครามมาจบลงที่ชัยชนะของเมืองบาบิโลน ซึ่งตั้งตัวเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร และมีอายุยืนยาวต่อมาถึง 423 ปี (2,017 ถึง 1,594 ปีก่อนคริสตกาล)
การล่มสลายของจักรวรรดิบาบิโลน (เก่า)
ดั่งเช่นอาณาจักรใหญ่ที่อื่นของโลก เมื่ออาณาจักรบาบิโลนเริ่มอ่อนแอลง ก็ถูกชาวฮิตไทต์ (Hittite) เข้าปล้นสะดมเมื่อ 1,590 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาพวกฮิตไทต์ก็เสียอำนาจให้แก่พวกคัสไซต์ และเข้าครอบครองกรุงบาบิโลนเป็นเวลาถึง 400 ปี
 กระทั่ง 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกคาลเดียน (Chaldean) ซึงเป็นชนเผ่าฮีบรูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ก็สามารถเข้ายึดกรุงนิเนเวห์ได้สำเร็จ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่ง และจัดตั้งเป็นอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่ขึ้นมา และเจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดอีกครั้ง

รายการบล็อกของฉัน