บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

โบราณสถานหลายแห่งในอิรัก แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก กำลังเสียหายเพราะเผชิญ พิษจากภัยโลกรวน!


โบราณสถานหลายแห่งในอิรัก แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก กำลังเสียหายเพราะเผชิญ พิษจากภัยโลกรวน!

โบราณสถานหลายแห่งในอิรัก แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก กำลังเสียหายเพราะเผชิญ พิษจากภัยโลกรวน!

พิษจากภัยโลกรวน! โบราณสถานมากมายในอิรัก แอ่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก กำลังเผชิญกับการผุกร่อน จากปัญหาความเค็มเพิ่ม-พายุทราย-พายุฝุ่น ที่มีต้นตอมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะขาดแคลนน้ำ

อิรัก คือประเทศที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น แอ่งอารยธรรม ในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ในบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ซึ่งมีนัยหมายถึง ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกรีสและแม่น้ำยูเฟรตีส โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Fertile Crescent หรือดินแดนทรงพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

ความอุดมสมบูรณ์นี้ คือสิ่งที่ดึงดูดให้ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเดินทางเข้ามา ส่งผลให้เกิดการหลอมรวมของอารยธรรมต่าง ๆ จน เมโสโปเตเมีย กลายเป็นหนึ่งในอู่อารยธรรม ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกสมัยโบราณ

นอกจากนี้ เมโสโปเตเมีย ยังถือเป็นบ่อกำเนิดของการทำเกษตรกรรม และเป็นบริเวณที่อักษรแรกเริ่มของโลก หรืออักษรลิ่ม (cuneiform) ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน อู่อารยธรรมแห่งนี้กำลังได้รับผลกระทบเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โบราณสถานจำนวนมากในอิรักกำลังได้รับความเสียหาย จากเหตุการณ์พายุทรายและพายุฝุ่นที่เกิดบ่อยขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 อิรักจะมีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งขึ้น และจะต้องเผชิญกับพายุทรายถึง 300 ครั้งต่อปี จากเดิมประมาณ 120 ครั้งต่อปี

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่กำลังก่อให้เกิดความเสียหายต่อโบราณสถานและวัตถุโบราณคือ ความเค็มที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นผลกระทบมาจากภาวะขาดแคลนน้ำ จากการสร้างเขื่อนในตุรกีและอิหร่าน การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้า บางส่วนของอิรักอาจจมอยู่ใต้น้ำเค็ม

ตัวอย่างของการผุเปื่อยที่เห็นได้ชัดเจนนั้น ได้แก่ คราบเกลือบนกำแพงอิฐดิน (mudbrick) ของนครมรดกโลกบาบิโลน (Babylon) ที่มีอายุประมาณ 4,000 ปี การผุกร่อนบนหอคอยเกลียว หรือมหาสุเหร่าแห่งซามาราจากเหตุการณ์พายุทราย ไปจนถึงการตกผลึกของเกลือ ที่กำลังทำให้ฐานกำแพงของ Temple of Ishtar ผุพังลง

“เมื่อโบราณสถานเหล่านี้ได้รับความเสียหาย หรือผุพังไป มันจะทำให้เกิดช่องว่างทางความรู้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวิวัฒนาการของมนุษย์ พัฒนาการเมืองในยุคแรกเริ่ม

ไปจนถึงการบริหารอาณาจักร และการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันของภูมิทัศน์ทางการเมือง ในยุคของศาสนาอิสลาม” Augusta McMahon ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีเมโสโปเตเมีย จาก University of Cambridge กล่าว

รายการบล็อกของฉัน