บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์พังพอนขนาดใหญ่ สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์


พังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์พังพอนขนาดใหญ่ สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

เราเคยได้ยินแต่คำว่าพังพอนกับงูเห่านะครับเป็นศัตรูคู่แค้นกันระหว่างพังพอนกับงูเห่าเจอที่ไหนต้องกัดกันทันทีแต่วันนี้เรามีพังพอนอีกชนิดหนึ่งที่เขาเรียกกันว่าพังพอนกินปูหรือพังพอนยักษ์จะเป็นอย่างไรน่าสนใจแบบไหนเรามาดูรายละเอียดกันเลยดีกว่านะครับ

พังพอนกินปู หรือ พังพอนยักษ์ (อังกฤษ: Crab-eating mongoose) เป็นหนึ่งในสองชนิดของสัตว์จำพวกพังพอนที่พบในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Herpestes urva


พังพอนกินปู, สถานะการอนุรักษ์ ...

เป็นพังพอนขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวจากมุมปากลาดยาวไปตามข้างคอจนถึงหัวไหล่ หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ขนที่หางเป้นพวง สีขนบริเวณลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมเทา คอมีสีดำ หน้าอกมีสีน้ำตาลแดง ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ขนมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ

มีความยาวลำตัวและหาง 44-48 เซนติเมตร ความยาวหาง 26.5-31 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-4 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่รวมทั้งเกาะไหหลำและเกาะไต้หวัน, เนปาล ภาคตะวันออกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามและมาเลเซีย ในประเทศไทยพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว


มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ มักอาศัยอยู่ตามป่าใกล้กับแหล่งน้ำ ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ หากินโดยจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ปู, ปลา, กุ้ง, หอย แมลงน้ำ นกน้ำ แมงป่อง แมงมุม ตะขาบ งู ออกหากินในเวลากลางคืน พังพอนกินปูสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี


ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ไซเตสจัดพังพอนกินปูไว้ในบัญชีหมายเลข 3 ประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

รายการบล็อกของฉัน