บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ลืมเรื่องชายเป็นใหญ่ไปได้เลย งานวิจัยให้เชื่อผู้หญิงอาจเป็นนักล่าสัตว์ได้ดีกว่าผู้ชาย หรืออย่างน้อยก็เท่าเทียมกัน



 ลืมเรื่องชายเป็นใหญ่ไปได้เลย งานวิจัยให้เชื่อผู้หญิงอาจเป็นนักล่าสัตว์ได้ดีกว่าผู้ชาย หรืออย่างน้อยก็เท่าเทียมจากลักษณะทางชีววิทยาและทางกายภาพ นักวิจัยชี้แนวคิด ‘ชายล่าสัตว์ และหญิงถือตระกร้าเก็บของ’ เป็นตำนานที่มีอคติทางเพศ รวมทั้งไม่มีหลักฐานใด ๆ สนับสนุน

เราทุกคนคงคุ้นเคยกับภาพจำที่ว่าผู้ชายถือหอกออกไปล่าสัตว์ และมีผู้หญิงที่อุ้มทารกกำลังเก็บอาหารอยู่ใกล้ ๆ สิ่ง้หล่านี้เป็นเหมือนตัวแทนภาพของสังคมมนุษย์ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ จัง ๆ แต่มันก็กลายเป็นรูปแบบเหมารวมที่แพร่หลาย 

“นี่เป็นข้อสันนิษฐานที่เราทุกคนมีอยู่ในใจ และส่งต่อกันในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของเรา” Cara Ocobock ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากภาควิชามานุษวิทยา ที่มหาวิทยาลัยนอเทรอดาม กล่าว “นี่คือสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย” 

แต่งานวิจัยล่าสุดของ Ocobock ได้เสนอว่าจริง ๆ แล้วผู้หญิงยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมในการล่าสัตว์เท่านั้น แต่ร่างกายและชีววิทยาของพวกเขาเหมาะสมกับการล่ามากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ พร้อมกับชี้ว่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับนักล่าที่เป็นผู้หญิงถูกกลบด้วยมุมมองทางเพศในปัจจุบัน

เนื่องจากการล่าสัตว์ในอดีตต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก รวมถึงความอดทนที่สูงจากการวิ่งและการติดตามสัตว์ จากมุมมองด้านเมตาบอลิซีม (Metabolism ; กระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย) แล้ว ผู้หญิงเหมาะสมกับกิจกรรมเช่นนี้มากกว่าด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ เอสโตรเจน (estrogen) และอะดิโพเนกติน(adiponectin)

ซึ่งทั้งสองฮอร์โมนพบในผู้หญิงมากกว่า โดยทั้งคู่ช่วยให้ร่างกายผู้หญิงปรับระดับกลูโคสและไขมันได้อย่างเหมาะสม ช่วยควบคุมการเผาผลาญโดยกระตุ้นให้ร่างกายใช้ไขมันที่สะสมไว้เป็นพลังงานก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรต และเนื่องจากไขมันมีแคลอรี่มากกว่าคาร์โบไฮเดรต มันจึงเผาผลาญได้นานและช้ากว่า 

“มันจึงหมายความว่า พลังงานที่ยั่งยืนแบบเดียวกันนี้ สามารถทำให้คุณออกกำลังกายได้นานขึ้น และสามารถชะลอความเหนื่อยล้าได้” Ocobock อธิบาย หรือพูดอีกอย่างได้ว่า ผู้หญิงสามารถอดทน และมีพลังงานในการล่าสัตว์ได้นานกว่าผู้ชายที่ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานไปอย่างรวดเร็ว


นอกจากนี้การศึกษากระดูกก็ชี้ให้เห็นว่า กระดูกของผู้หญิงมีอัตราการสึกหรอจากการบาดเจ็บที่ถูกสัตว์ทำร้าย เช่นการบาดเจ็บที่ศีรษะและหน้าอก หรือการแตกหักกับรอยกัด ทั้งหมดนี้มีจำนวนพอ ๆ กับผู้ชาย “ดังนั้นพวกเขาทั้งสอง (ชายและหญิง) จึงมีส่วนร่วมในการล่าสัตว์ขนาดใหญ่แบบซุ่มโจมตี” Ocobock บอก


ในด้านอื่น ๆ การฝังศพที่พบในประเทศเปรูก็ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงถูกฝังพร้อมกับอาวุธล่าสัตว์ “เราไม่เห็นข้อบางชี้ใด ๆ ในอดีตที่ชี้ว่ามีการแบ่งแยกงานทางเพศอย่างชัดเจน” Ocobock เสริม

“เราต้องเปลี่ยนอคติที่เรานำมาสู่โต๊ะ(สาธารณะ) หรืออย่างน้อยต้องหยุดคิดก่อนที่เราจะกำหนดอคติเหล่านี้และในแง่ที่กว้างกว่านั้น คุณไม่สามารถตัดสินความสามารถของใครบางคนโดยพิจารณาจากเพศหรือเพศใดก็ตามที่คุณกำหนดไว้ด้วยการดูจากพวกเขา” Ocobock กล่าว

รายการบล็อกของฉัน