บทความที่ได้รับความนิยม

Custom Search

Translate

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พบฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กพันธุ์ใหม่ ในอเมริกาใต้ ลำตัวยาวประมาณ 1.5 ม. น้ำหนักเท่า ๆ กับแมวบ้าน มีเกราะหนาม



นักวิจัยพบฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กพันธุ์ใหม่ ในอเมริกาใต้ ลำตัวยาวประมาณ 1.5 ม. น้ำหนักเท่า ๆ กับแมวบ้าน มีเกราะหนาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 97 - 94 ล้านปีที่แล้ว

นักบรรพชีวินวิทยาจาก Félix de Azara Natural History Foundation ในอาร์เจนตินา ค้นพบซากฟอสซิลของ ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กสายพันธุ์ใหม่ ในจังหวัด Río Negro ทางตอนเหนือของ Patagonia ในอเมริกาใต้ โดยมันเคยอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 97 ถึง 94 ล้านปีที่แล้ว

ไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่นี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า Jakapil kaniukura ซึ่งคำว่า ‘Jakapil’ มีความหมายว่า ‘ผู้ที่มีเกราะ’ ในภาษาพื้นถิ่น Puelchean หรือ Tehuelchean ตอนเหนือ ส่วน 'kaniukura' มาจากคำที่แปลว่า 'หงอน' และ 'หิน' ในภาษาพื้นถิ่น Mapudungun


นักวิจัยคาดว่า J. kaniukura น่าจะมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร และมีน้ำหนักพอ ๆ กับแมวบ้าน นอกจากนี้ มันยังมีเกราะหนามตั้งแต่คอจรดหาง ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ พวกมันกินพืชเป็นอาหาร และน่าจะมีลักษณะฟัน ที่คล้ายกับฟันของ Stegosaurus

J. kaniukura ถูกจัดอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ที่เรียกว่า Thyreophora ซึ่งเป็นกลุ่มของไดโนเสาร์หุ้มเกราะ อย่าง Ankylosaurus และ Stegosaurus อย่างไรก็ตาม ไดโนเสาร์กลุ่มนี้มักจะถูกพบในซีกโลกเหนือ โดยพบมากในชั้นหินยุคจูราสสิคจากอเมริกาเหนือและยุโรป (201 ถึง 163 ล้านปีที่แล้ว)



ดังนั้น การค้นพบนี้ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ว่า ซีกโลกใต้ก็เคยมีไดโนเสาร์หุ้มเกราะเก่าแก่อาศัยอยู่ และพวกมันมีชีวิตรอดมาจนถึงปลายยุคครีเทเชียส แตกต่างจาก thyreophorans ซีกโลกเหนือ ที่น่าจะสูญพันธุ์ไปหมดตั้งแต่กลางยุคจูราสสิค



รายการบล็อกของฉัน